วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประวัติลีลาศทั้งในไทยและต่างประเทศ

ประวัติลีลาศทั้งในไทยและต่างประเทศ

ประวัติลีลาศในประเทศไทย

          แม้จะไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด ว่ากีฬาลีลาศแพร่หลายเข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่จากการสันนิษฐานเชื่อว่าน่าจะเกิดขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) โดยมีบันทึกของหม่อมแอนนา ว่าได้ลองแนะนำให้ท่านรู้จักกับการเต้นของชนชั้นสูง แต่ท่านกลับรู้จักการเต้นชนิดนั้นได้ดีอยู่แล้ว จึงคาดว่าน่าจะทรงศึกษาจากตำราต่างประเทศด้วยพระองค์เอง

          ต่อมาลีลาศค่อย ๆ เป็นที่นิยมขึ้นเรื่อย ๆ ในสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) และมีการจัดตั้ง สมาคมสมัครเล่นเต้นรำ ขึ้นใน พ.ศ. 2475 โดยมี หม่อมเจ้าไวทยากร วรวรรณ เป็นประธาน และจัดการแข่งขันเต้นรำขึ้นที่ วังสราญรมย์ โดยมี พลเรือตรี เฉียบ แสงชูโต และ คุณประนอม สุขุม เป็นผู้ชนะในครั้งนั้น และคำว่า "ลีลาศ" ก็ได้ถูกบัญญัติขึ้นในปี พ.ศ. 2476 และเกิด สมาคมครูลีลาศแห่งประเทศไทย ขึ้นมาแทน สมาคมสมัครเล่นเต้นรำ

          หลังจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 การเต้นลีลาศก็ซบเซาลงไป และกลับมาคึกคักอีกครั้งในปี พ.ศ. 2488 จนกระทั่งยื่นจดทะเบียนสมาคมเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2491 และใช้ชื่อว่า สมาคมลีลาศแห่งประเทศไทย ตั้งแต่นั้นมา


ประวัติลีลาศในต่างประเทศ


 ในปี ค.ศ. 1588 พระชาวฝรั่งเศสชื่อ โตอิโน อาโบ (Thoinnot Arbeau: ค.ศ. 1519-1589) ได้พิมพ์หนังสือเกี่ยวกับการเต้นรำ ชื่อ ออเชโซกราฟี (Orchesographin) ในหนังสือได้บรรยายถึงการเต้นรำแบบต่างๆหลายแบบ เป็นหนังสือที่มีคุณค่ามาก บันทึกถึงการเต้นรำที่นิยมใช้กันในบ้านขุนนางต่างๆ ในยุโรประหว่างศตวรรษที่ 16   งานเลี้ยงฉลองได้ถูกจัดขึ้นตามโอกาสต่างๆเช่น วันเกิด การแต่ง งาน และการต้อนรับแขกที่มาเยือนในงานจะรวมพวกการเต้นรำ การประพันธ์ การดนตรี และการจัดฉากละครด้วย ขุนนางผู้หนึ่งชื่อ  Lorenzo de Medlci  ได้จัดงานขึ้นที่คฤหาสน์ของตน โดยตกแต่งคฤหาสน์ด้วยสีสันต่างๆ และจัดให้มีการแข่งขันหลายๆอย่าง รวมทั้ง การเต้นรำสวมหน้ากาก (Mask Dance) ซึ่งต้องใช้จังหวะ ดนตรีประกอบการเต้น
        พระนางแคทเธอรีน เดอ เมดิซี (Catherine de Medicis ) พระราชินีในพระเจ้าเฮนรี่ที่ 2 เดิมเป็นชาวฟลอเรนซ์แห่งอิตาลี พระองค์ได้นำคณะเต้นรำของอิตาลีมาเผยแพร่ในพระราชวังของฝรั่งเศส และเป็นจุดเริ่มต้นของระบำบัลเล่ย์  พระองค์ได้จัดให้มีการแสดง บัลเล่ย์โดยพระองค์ทรงร่วมแสดงด้วย
ในสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ได้ปรับปรุงและพัฒนาการบัลเล่ย์ใหม่ได้ตั้งโรงเรียนบัลเล่ย์ขึ้นแห่งแรก ชื่อ Academic Royale de Dance จนทำให้ประเทศฝรั่งเศสเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมของยุโรป พระองค์คลุกคลีกับวงการบัลเล่ย์มาไม่น้อย กว่า 200 ปี โดยพระองค์ทรงร่วมแสดงด้วย บทบาทที่พระองค์ทรงโปรดมากที่สุดคือ บทเทพอพอลโลของกรีก จนพระองค์ได้รับสมญา นามว่า พระราชาแห่งดวงอาทิตย์การบัลเล่ย์ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 นี้ค่อนข้างจะสมบูรณ์มาก
            การเต้นระบำบัลเล่ย์ในพระราชวังนี้เป็นพื้นฐานของการลีลาศ การเต้นรำในปี ค.ศ. 1700 ซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุด ได้แก่ Gavotte,Allemande และMinuet รูปแบบการเต้นจะประกอบด้วยการก้าวเดินหรือวิ่ง การร่อนถลา การขึ้นลงของลำตัว การโค้ง และถอน สายบัว ภายหลังได้แพร่ไปสู่ยุโรปและอเมริกา เป็นที่ชื่นชอบของ ยอร์ช วอชิงตัน ประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกามาก   การเต้นรำใน  อังกฤษซึ่งเป็นการเต้นรำพื้นเมืองและนิยมกันมากในยุโรป เรียกว่า Country Dance ภายหลังได้แพร่ไปสู่อาณานิคมตอนใต้ของอเมริกา
สมัยก่อน การแสดงบัลเล่ย์มักจะแสดงเรื่องที่เกี่ยวกับเทพเจ้า เทพธิดา แต่สมัยนี้มุ่งแสดงเกี่ยวกับชีวิตคนธรรมดาสามัญ เป็นเรื่องง่ายๆและ จินตนาการ   ในสมัยที่มีการปฏิวัติในฝรั่งเศส ( ค.ศ. 1789 ) ได้มีการกวาดล้างพวกกษัตริย์และพวกขุนนางไป เกิดความรู้สึกอย่างใหม่ คือ ความมีอิสระเสรีเท่าเทียมกัน เกิดการเต้นวอลซ์ ซึ่งรับมาจากกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งเชื่อกันว่ามีรากฐานมาจากการเต้น Landler การเต้นวอลทซ์ได้แพร่หลายไปสู่ประเทศที่เจริญแล้วในยุโรปตะวันตก    เนื่องจากการเต้นวอลซ์อนุญาตให้ชายจับมือและเอว ของคู่เต้นรำได้   จึงถูกคณะพระคริสประณามว่าไม่เหมาะสมและไม่สุภาพเรียบร้อย   ในช่วงปี ค.ศ. 1800-1900  การเต้นรำใหม่ๆที่เป็นที่ นิยมกันมากในยุโรปและอเมริกา จะเริ่มต้นจากคนธรรมดาสามัญโดยการเต้นรำพื้นเมือง พวกขุนนางเห็นเข้าก็นำไปประยุกต์ให้เหมาะสมกับ ราชสำนัก เช่น การเต้น โพลก้า วอลซ์ ซึ่งกลายเป็นที่นิยมมากของคนชั้นกลางและชั้นสูง  ในอเมริการูปแบบใหม่ในการเต้นรำที่นิยมมาก ในหมู่ชนชั้นกรรมาชีพและพวกที่ยากจน คน ผิวดำนิยมเต้น Tap-Danced หรือระบำย่ำเท้า โดยรวมเอาการเต้นรำพื้นเมืองในแอฟริกา การ เต้นแบบจิ๊ก  ( jig) ของชาวไอริส และการเต้นรำแบบคล๊อก (Clog) ของชาวอังกฤษเข้าด้วยกัน คนผิวดำมักจะเต้นไปตามถนนหนทาง   ก่อนปี ค.ศ. 1870  การเต้นรำได้ขยายไปสู่เมืองต่างๆในอเมริกา ผู้หญิงที่ชอบร้องเพลงประสานเสียงจะเต้นระบำแคนแคน (Can-Can ) โดยใช้การเตะเท้าสูงๆ เพื่อเป็นสิ่งบันเทิงใจแก่พวกโคบาลที่อยู่ตามชายแดนอเมริกา ระบำแคน แคน
  จังหวะวอลซ์จากกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งเกิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 17 แต่มิได้     เผยแพร่ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1816  จังหวะวอลซ์ ได้ถูกนำมาเผยแพร่ต่อที่ประชุมโดยพระเจ้ายอร์ชที่ 4 แม้จะไม่สมบูรณ์นักในขณะนั้น แต่ก็จัดว่าจังหวะวอลซ์เป็นจังหวะแรกของการลีลาศแท้จริง เพราะคู่ลีลาศสามารถจับคู่เต้นรำได้
ในราวปี ค.ศ. 1840  การเต้นรำบางอย่างกลับมาเป็นที่นิยมอีก อาทิ โพลก้า จากโบฮิเมีย ซึ่งเป็นที่นิยมมากในเวียนนา ปารีส และลอนดอน จังหวะมาเซอก้า( Mazuka) จากโปแลนด์ก็เป็นที่นิยมมากในยุโรปตะวันตก
ในราวกลางศตวรรที่ 19 การเต้นรำใหม่ๆก็เกิดขึ้นอีกมาก อาทิ การเต้นมิลิตารี่ สก๊อตติช (Millitary Schottische) การเต้นเค็กวอล์ค (Cakewalk) ซึ่งเป็นการเต้นรำแบบหนึ่งของพวกนิโกรในอเมริกา การเต้นทูสเตป (Two-Step) การเต้นบอสตัน (Boston) และการเต้นเตอรกีทรอท (Turkey trot)
          ในศตวรรษที่ 20 ค.ศ. 1910 จังหวะแทงโก้จากอาร์เจนตินา เริ่มเผยแพร่ที่ปารีส เป็นจังหวะที่แปลกและเต้นสวยงามมากในระหว่างปี ค.ศ. 1912-1914 Vemon และ lrene Castle ได้นำรูปแบบการเต้นรำแบบใหม่ๆ จากอังกฤษมาเผยแพร่ในอเมริกาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้แก่จังหวะฟอกซ์ทรอทและแทงโก้



          กีฬาลีลาศ (Ballroom Dance) คือ กีฬาชนิดหนึ่งที่เน้นความสวยงามพริ้วไหวของผู้เต้น ตามจังหวะต่าง ๆ โดยถือกำเนิดขึ้นในหมู่ชนชั้นสูงฝั่งตะวันตก ที่นิยมใช้การเต้นรำเป็นกิจกรรมในงานสังคม โดยการเต้นรำแต่ละจังหวะมีต้นกำเนิดแตกต่างกัน ดังนี้
 
ประเภทสแตนดาร์ด
จังหวะแทงโก้ (Tango)

          แต่เดิมคือจังหวะ มิลองก้า (Milonga) ที่ใช้เต้นกันในโรงละครเล็ก ๆ แต่เมื่อชนชั้นสูงจากประเทศบราซิลไปพบเข้า จึงเริ่มมีการนำมาเต้นรำกันมากขึ้นและชื่อของจังหวะมิลองก้า (Milinga) ก็ถูกเปลี่ยนเป็นจังหวะแทงโก้ (Tango) ในที่สุด

จังหวะวอลซ์ (Waltz)

          กำเนิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ.1910 (พ.ศ. 2453) – ค.ศ.1914 (พ.ศ. 2457) ที่บอสตันคลับ ในโรงแรมซาวอย ประเทศอังกฤษ มีชื่อเรียกว่า บอสตัน วอลซ์ (Boston Waltz) ก่อนที่จะเสื่อมสลายลงไป และกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยถูกดัดแปลงท่าเต้นให้เข้ากับยุคสมัย

 จังหวะควิกซ์วอลซ์ (Waltz) หรือ เวียนนีสวอลซ์ (Viennese Waltz)

           ถือกำเนิดขึ้นในตอนใต้ของประเทศเยอรมนี ในช่วงยุค 60’s ซึ่งเป็นจังหวะที่ต้องใช้พลังสูง เนื่องจากเป็นจังหวะที่มีความเร็ว ถึง 60 บาร์ต่อนาที โดยเน้นที่การรักษาจังหวะให้ต่อเนื่อง เน้นการเต้นแบบอิสระ
 จังหวะฟอกซ์ทรอต (Foxtrot)

            เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ในทวีปยุโรป โดยนักเต้นประกอบจังหวะคนหนึ่งชื่อ แฮรี่ ฟอกซ์ (Harry Fox) และถูกนำมาดัดแปลงขัดเกลาโดย แฟรงค์ ฟอร์ด (Frank Ford) ประมาณปี ค.ศ.1922 (พ.ศ.2465) ถึง ค.ศ.1929 (พ.ศ.2472) จนเริ่มแพร่หลาย
 จังหวะควิกซ์สเตป (Quick Step)
           เป็นจังหวะที่ถูกแตกแขนงมาจากจังหวะฟอกซ์ทรอต เนื่องจากจังหวะฟอกซ์ทรอตมีความเร็วค่อนข้างสูงถึง 50 บาร์ต่อนาที ทำให้นักดนตรีเล่นได้ยาก จึงถูกปรับลดจังหวะลงมาและนำมาผสมผสานกันจนเกิดเป็นจังหวะควิกสเตปขึ้น และเริ่มแพร่หลายประมาณปี ค.ศ.1928 (พ.ศ.2471) เป็นต้นมา
ประเภทลาตินอเมริกัน 
จังหวะแซมบ้า (Samba)

          มีต้นแบบมาจากแถบแอฟริกา แต่ถูกพัฒนาจนเป็นที่นิยมในประเทศบราซิล ซึ่งจังหวะแซมบ้าได้ถูกยอมรับให้เป็นจังหวะที่สามารถเข้าแข่งขันในมหกรรมการแสดงระดับโลกที่นิวยอร์คได้ เมื่อปี ค.ศ.1939 (พ.ศ. 2482) และอีกสิบปีต่อมาจังหวะแซมบ้าก็ถูกยอมรับกันอย่างแพร่หลายในปี ค.ศ.1948 (พ.ศ.2491) – ค.ศ.1949 (พ.ศ. 2492)

จังหวะรุมบ้า (Rumba)

          ถูกนำเข้าไปยังประเทศอเมริกาโดยทาสชาวแอฟริกัน และถูกพัฒนาต่อจนกระทั่งมีตำราการเต้นรำเกิดขึ้น ซึ่งตำราเล่มนั้นเป็นที่แพร่หลายทำให้จังหวะรุมบ้าได้รับการยอมรับในที่สุด

จังหวะแมมโบ้ (Mambo)

          เป็นจังหวะที่ตั้งขึ้นจากชื่อของหมอผีในประเทศเฮติ เป็นการผสมผสานการเต้นในแบบ แอฟริกัน-คิวบัน และนิยมเต้นกันในคิวบา โดยเริ่มแพร่หลายเมื่อ เปเรซ ปราโด (Perez Prado) นักดนตรีชาวคิวบา นำเอาจังหวะนี้มาเล่นในประเทศเม็กซิโก และได้รับการบันทึกเป็นแผ่นเสียง ในปี ค.ศ.1951 (พ.ศ. 2494) จนถูกเรียกว่าเป็น ราชาแห่งแมมโบ้ (Mambo King)

จังหวะ ชะ ชะ ช่า (Cha Cha Cha)

          ถูกพัฒนามาจากจังหวะแมมโบ้ (Mambo) ซึ่งตั้งขึ้นจากการเลียนเสียงรองเท้ากระทบพื้นขณะเต้นรำ โดยถูกพบเห็นครั้งแรกที่ประเทศอเมริกา และแพร่หลายไปยังแถบยุโรป จากนั้นก็ได้รับความนิยมอย่างจริงจังในช่วงปี ค.ศ.1956 (พ.ศ. 2499) ก่อนที่จะถูกตัดทอนชื่อลงเป็น ชาช่า (Cha Cha) แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังคงเคยชินกับ ชะ ชะ ช่า (Cha Cha Cha) มากกว่า

 จังหวะไจว์ฟ (Jive)
          กำเนิดขึ้นในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ราวปี ค.ศ.1940 (พ.ศ.2483) เป็นจังหวะเต้นรำในแบบที่เน้นจังหวะจะโคน และการสวิง โดยถูกดัดแปลงมาจากดนตรีในหลายจังหวะ ทั้ง ร็อกแอนด์โรล แอฟริกัน และ อเมริกันสวิง เป็นต้น ซึ่งในการเต้นนั้นจะเน้นการดีด สะบัด และเตะปลายเท้า ซึ่งต้องใช้ความสนุกสนานในการเต้นและใช้พลังสูง
 จังหวะปาโซโดเบล (Pasodoble)

          เป็นดนตรีที่มีจังหวะ 2/4 คล้ายเพลงมาร์ชของสเปน ใช้ในช่วงพิธีกรรมที่นักสู้วัวกระทิงกำลังเดินลงสู่สนาม และขณะกำลังจะฆ่ากระทิง ก่อนจะพัฒนามาเป็นจังหวะเต้นรำ โดยฝ่ายชายจะเปรียบเสมือนนักสู้วัวกระทิงที่จะบังคับร่างของคู่เต้น ซึ่งเป็นเสมือนผ้าสีแดง ให้แกว่งไปมาในลักษณะเดียวกับกำลังสะบัดผ้า เพื่อยั่ววัวกระทิง และจะเต้นโดยการย้ำส้นเท้านำเป็นจังหวะอย่างเร็ว ไม่ค่อยใช้สะโพกเคลื่อนไหวเท่าไหร่นัก

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น