วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สุขบัญญัติ 10 ประการ

สุขบัญญัติ 10 ประการ

สุขบัญญัติ 10 ประการ คือ ข้อกำหนดที่เด็ก และเยาวชน รวมทั้งประชาชนทั่วไป ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย เพราะผู้ที่ปฏิบัติตาม สุขบัญญัติ 10 ประการ จะเป็นคนมีสุขภาพดี ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม ซึ่งจะส่งผลให้มีสุขภาพแข็งแรง มีสมรรถภาพในการเรียน การทำงาน และ สุขบัญญัติ 10 ประการ  ยังช่วยให้มีภูมิต้านทานโรค ไม่เจ็บป่วยง่าย ๆ ด้วย โดย สุขบัญญัติ 10 ประการ หรือ สุขบัญญัติแห่งชาตินี้ รัฐบาลได้ประกาศให้ดำเนินการและเผยแพร่ในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2539 ดังนั้นจึงได้กำหนดให้ทุกวันที่ 28 พฤษภาคม เป็น "วันสุขบัญญัติแห่งชาติ" อีกด้วย

สุขบัญญัติ 10 ประการ ประกอบไปด้วย

1.ดูแลรักษาร่างกายและของใช้ให้สะอาด ทำได้โดย


สระผม
สุขบัญญัติ 10 ประการ
          อาบน้ำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และสระผมอย่างน้อย สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
          ตัดเล็บมือ เล็บเท้า ให้สั้นอยู่เสมอ เพื่อป้องกันเชื้อโรค
          ถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาทุกวัน
          ใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่อับชื้น และให้ความอบอุ่นอย่างเพียงพอ
          จัดเก็บข้าวของเครื่องใช้ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

2.รักษาฟันให้แข็งแรง และแปรงฟันทุกวันอย่างถูกวิธี โดยการ


แปรงฟัน
สุขบัญญัติ 10 ประการ

          แปรงฟันทุกวันอย่างถูกวิธี อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ เวลาเช้า และก่อนนอน
          ถูหรือบ้วนปาก หลังทานอาหาร
          เลือกใช้ยาสีฟันและฟลูออไรด์
          หลีกเลี่ยงการทานลูกอม ลูกกวาด ท็อฟฟี่ ขนมหวานเหนียวต่าง ๆ เพื่อป้องกันฟันผุ
          ตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
          ไม่ควรใช้ฟันกัดขบของแข็ง

3.ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่าย
 

สุขบัญญัติ 10 ประการ


          คือ ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้ง ก่อนและหลังการเตรียม ปรุง และรับประทานอาหาร รวมทั้งหลังการขับถ่าย

4.กินอาหารสุก สะอาด ปราศจากสารอันตราย และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด สีฉูดฉาด โดยการ


ทำอาหาร
สุขบัญญัติ 10 ประการ

          เลือกซื้ออาหารสด สะอาด ปลอดสารพิษ โดยคำนึงหลัก 3 ป คือ ประโยชน์ ปลอดภัย และประหยัด
          ปรุงอาหารให้ถูกสุขลักษณะ และใช้เครื่องปรุงรสที่ถูกต้อง โดยคำนึงหลัก 3 ส คือ สงวนคุณค่า สุกเสมอ และสะอาดปลอดภัย
          ทานอาหารที่มีการจัดเตรียม การประกอบอาหาร และใส่ในภาชนะที่สะอาด
          รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
          รับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการทุกวัน
          ทานอาหารปรุงสุกใหม่ รวมทั้งใช้ช้อนกลางในการทานอาหารร่วมกัน
          หลีกเลี่ยงทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ หรืออาหารรสจัด ของหมักดอง รวมทั้งอาหารใส่สีฉูดฉาด
          ดื่มน้ำสะอาดทุกวัน อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
          ทานอาหารให้เป็นเวลา

5.งดสูบบุหรี่ สุรา สารเสพติด การพนัน และการสำส่อนทางเพศ

สูบบุหรี่
สุขบัญญัติ 10 ประการ

          ผู้ที่จะมีสุขภาพดีตาม สุขบัญญัติ 10 ประการ ต้องงดสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดใช้สารเสพติด งดเล่นการพนัน นอกจากนี้ต้องส่งเสริมค่านิยม รักนวลสงวนตัว และมีคู่ครองเมื่อถึงวัยอันควร

6.สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น ทำได้โดย
สุขบัญญัติ 10 ประการ
 

          ให้ทุกคนในครอบครัวช่วยกันทำงานบ้าน
          สมาชิกทุกคนในครอบครัวควรปรึกษาหารือ และแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
          เผื่อแผ่น้ำใจให้กันและกัน
          จัดกิจกรรมสนุกสนานร่วมกัน
          ชวนกันไปทำบุญ

7.ป้องกันอุบัติภัยด้วยการไม่ประมาท ทำได้โดย

          ระมัดระวังป้องกันอุบัติภัยที่อาจเกิดภายในบ้าน เช่น เตาแก๊ส ไฟฟ้า ของมีคม ธูปเทียนที่จุดบูชาพระ ฯลฯ
          ระมัดระวังในการป้องกันอุบัติภัยในที่สาธารณะ เช่น ปฏิบัติตามกฏของการจราจรทางบก ทางน้ำ ป้องกันอันตรายจากโรงฝึกงาน ห้องปฏิบัติการ เขตก่อสร้าง หลีกเลี่ยงการชุมนุมห้อมล้อม ในขณะเกิดอุบัติภัย

8.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพประจำปี โดยการ

ออกกำลังกาย
สุขบัญญัติ 10 ประการ

          ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
          ออกกำลังกายและเล่นกีฬาให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายและวัย
          ตรวจสุขภาพประจำปีกับแพทย์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

9.ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ โดยการ


อ่านหนังสือ
สุขบัญญัติ 10 ประการ

          พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ อย่างต่ำ 8 ชั่วโมง
          จัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน และที่ทำงานให้น่าอยู่
          หาทางผ่อนคลายความเครียด เมื่อมีปัญหา หรือเรื่องไม่สบายใจรบกวน อาจหางานอดิเรกทำ ใช้เวลาว่างไปกับการอ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูภาพยนตร์
          ช่วยเหลือผู้อื่นที่มีปัญหา

10.มีสำนึกต่อส่วนรวมร่วมสร้างสรรค์สังคม เช่น

          กำจัดขยะภายในบ้าน และทิ้งขยะในที่รองรับ
          หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เช่น โฟม พลาสติก สเปรย์ เป็นต้น
          มีและใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะ
          กำจัดน้ำทิ้งในครัวเรือนและโรงเรียนด้วยวิธีที่ถูกต้อง
          ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด
          อนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม เช่น ชุมชน ป่า น้ำ และสัตว์ป่า เป็นต้น